ประชุมวิชาการแบบออนไลน์ เรื่อง “Running Science for Medical Personnel: A Virtual Meetings”

ขอเชิญ แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจเข้าร่วมการ ในวันที่ 9-10 กันยายน 2564 ผ่านทาง Zoom Webinar จัดโดยภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ลงทะเบียน Online ได้ที่
http://www1.si.mahidol.ac.th/division/conference/conference/singlepage_index.php?sm_id=991&menu=1&lang=TH&from=1

Download หนังสือเชิญประชุมได้ที่
http://www1.si.mahidol.ac.th/division/conference/media/projects/991/file/XXX.pdf

เมตตา เมดเทค มอบ “หุ่นยนต์ฝึกเดินชนิดสวมใส่ ExoAtlet® Exoskeleton Wearable Robot” ให้กับโรงพยาบาลศิริราช

             เมตตา เมดเทค มอบ “หุ่นยนต์ฝึกเดินชนิดสวมใส่ ExoAtlet® Exoskeleton Wearable Robot” ให้กับโรงพยาบาลศิริราช
            เมื่อวันพุธที่ 7 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา บริษัท เมตตา เมดเทค จำกัด โดยคุณฆรรธิมา สุวรรณมณี ผู้จัดการทั่วไป ทำการส่งมอบหุ่นยนต์ฝึกเดินชนิดสวมใส่ ExoAtlet® Exoskeleton Wearable Robot มูลค่า 8,000,000 บาท ให้กับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช เนื่องด้วยทางบริษัท ฯ ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์อันมากมายที่จะเกิดขึ้น ทั้งด้านงานวิจัย และประโยชน์กับผู้ป่วยในการนำหุ่นยนต์มาฝึกใช้ในอนาคต ทั้งนี้ ยังได้รับงบสนับสนุนบางส่วนจากทาง ExoAtlet Asia และด้วยความลงตัวของความร่วมมือทั้งสามฝ่าย จึงทำให้เกิดงานในครั้งนี้
            ทั้งนี้ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในการรับมอบ ณ ห้องภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู อาคารศรีสังวาลย์ ชั้น 3 โรงพยาบาลศิริราช พร้อมด้วย รศ.นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช และผศ.นพ. วิษณุ กัมทรทิพย์ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมในงานครั้งนี้ด้วย

2-day hand-on Cadaveric Workshop of Musculoskeletal Ultrasonography

        2-day hand-on Cadaveric Workshop of Musculoskeletal Ultrasonography หนึ่งในการเรียนการสอนหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อพัฒนาการทำหัตถการในด้านการฟื้นฟูภาวะปวดกระดูกและกล้ามเนื้อ และการรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยโรคระบบประสาท ณ ศูนย์การฝึกอบรมทักษะหัตถการทางการแพทย์ศิริราช (Sitec – Siriraj Training and Education Center for Clinical Skills) วันที่ 30-31 มีนาคม 2564

“วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคระบบประสาท”

“วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคระบบประสาท” บทความโดย ผศ.นพ.วิษณุ กัมทรทิพย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะเเพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ความประทับใจจากผู้ป่วย ถึงภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราช

ไม่เพียงการรักษาทางการแพทย์ จะช่วยให้รอดชีวิต
“การฟื้นฟู” ช่วยให้คนไข้มีความสามารถที่ดีขึ้น ได้กลับไปใช้ชีวิตกับครอบครัวและสังคมที่รัก
ดังเช่น…ป้าน้อย ที่กลับมามีเสียงหัวเราะ กับคนรอบข้างอีกครั้ง

 

MOU between Fujita Health University and Mahidol University

Prof. Banchong Mahaisavariya, President of Mahidol University, Prof.Dr. Prasit Watanapa, Dean of Faculty of Medicine Siriraj Hospital
along with Asst. Prof. Witsanu Kumthornthip, Chairman of Department of Rehabilitation Medicine welcomed Professor Eiichi Saitoh, President of Fujita Health University, Japan, for the MOU signing ceremony between Fujita Health University and Mahidol University on November 4th,2019.

On November 5th, 2019, Professor Saitoh gave a talk on Robotics and Advanced Technology in the New Era Rehabilitation at the Department of Rehabilitation Medicine.

Education

หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูศิริราช

หลักสูตรและเกณฑ์การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน 2561

หลักสูตรและเกณฑ์การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561

 

 Undergraduate Program

          Department of Rehabilitation Medicine provides teaching on the subject of rehabilitation medicine in the curriculum for a diploma of medical doctor. There are both compulsory and optional subjects for the 5th and 6th-year medical students. The primary objectives are to learn the principles and treatment modalities in rehabilitation medicine including basic and clinical skills in rehabilitation medicine, to be able to apply and integrate knowledge in clinical practice through a holistic approach management, and to know the indications for referral to rehabilitation specialists as well as networking and referral system. There are regular course feedbacks and evaluations as well as an annual review in order to modify, adjust, and update it to be proper with the context of Thai society, public health policy, the level of clinical year and students’ needs. Over the last year, the teaching method in each subject was adjusted to be more active learning and used the online study material (SELEC program) in order to be appropriate for the 21stcentury medical students.

 

Postgraduate Program

           Our department has established a residency training program in rehabilitation medicine under the supervision of the Medical Council of Thailand since 1988. So far, one hundred and eighteen resident trainees have graduated and got a certified diploma. Currently, our curriculum, including both compulsory and elective rotations, is relevant to competency-based learning. Portfolio, Direct Observation Procedural Skill (DOPS) and Entrustable Professional Activities (EPA) have been used to monitor, follow up, evaluate and feedback our trainees in their progress of knowledge and skills, working, learning and training as well as their well-being. Moreover, extra-curricular activities have been added in order to improve their health condition, social skills, general knowledge, and life experiences. For quality assurance, our program is annually monitored and evaluated by the internal organizations both EdPEx and MUQD. Moreover, our department provides funding support for our resident trainees to do their elective training overseas; Over the last year, about half of our third-year-residents had clinical experiences in Australia, England , and Taiwan.

 

 

 

 

 

 

 

 

หลักสูตรก่อนปริญญา

             ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูรับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย ในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือกเสรี ทำการสอนนักศึกษาแพทย์  ชั้นปีที่ 5 และ 6 โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อให้ทราบหลักการและการรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู โดยมีการฝึกทักษะพื้นฐานที่จำเป็น สามารถบูรณาการความรู้ที่มีอยู่เพื่อการรักษาแบบองค์รวม และสามารถส่งต่อผู้ป่วยมารับการรักษาที่เหมาะสมได้ และเพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง   ภาควิชามีการสัมมนาเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนทุกปี   เพื่อให้การเรียนการสอนมีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของแพทยสภาและสังคมและตอบสนองผู้เรียนในเวลาที่เปลี่ยนไปได้อย่างเหมาะสม โดยปีที่ผ่านมาได้มีการปรับให้มีการจัดการเรียนการสอนแบบ active ในทุกหัวข้อการเรียนการสอน และได้ปรับเปลี่ยนการให้เอกสารประกอบการสอนเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ระบบSELEC  ร่วมด้วยเพื่อให้เหมาะสมกับนักเรียนในศตวรรษที่ 21

 หลักสูตรหลังปริญญา

             ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นสถานที่ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟูภายใต้การกำกับของแพทยสภา  เริ่มเปิดการอบรมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2531  ปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 31(ปี พ.ศ. 2561) และมีแพทย์ประจำบ้านสำเร็จหลักสูตรทั้งสิ้น 28รุ่น จำนวน 118คน     การจัดการเรียนการสอน มีทั้งการจัดการเรียนภาคบังคับและวิชาเลือกเสรี โดยใช้หลักการเรียนรู้ตามแนว  Competency based มีการบันทึก Portfolio และการใช้ Direct Observation Procedural Skill (DOPS) และ Entrustable Professional Activities (EPA)  เพื่อติดตามความก้าวหน้าของแพทย์ประจำบ้าน  นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเสริมหลักสูตร  เพื่อเพิ่มพูนความรู้และเสริมประสบการณ์นอกตำรา ภาควิชาฯ มีการพัฒนาทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ได้รับการตรวจเยี่ยมประเมินคุณภาพจากสถาบันภายในทั้ง EdPEx  และ MUQD ทุกปี  ภาควิชาฯ สนับสนุนแพทย์ประจำบ้านให้ไปฝึกอบรมระยะสั้นในต่างประเทศ  โดยมีทุนสนับสนุน ในปีการศึกษาที่ผ่านมา มีแพทย์ประจำบ้านไปฝึกอบรมต่างประเทศ  4  คน ที่ประเทศออสเตรเลีย, ประเทศอังกฤษ และไต้หวัน